เคมี และ อุปกรณ์ สำหรับงาน ประปา และ ท่อน้ำ

อุปกรณ์ และ เคมี เกี่ยวกับท่อ ที่เรามีจำหน่าย

  1. เทปพันเกลียว joretex น้ำไทย
  2. เทปพันเกลียว ตรา ช้าง scg
  3. เทปพันเกลียว แบบถูก ps
  4. น้ำยาประสานท่อpvc น้ำไทย
  5. น้ำยาประสานท่อpvc ps-lon
  6. น้ำยาประสานท่อตราช้าง

 

การพันเทปพันเกลียว พันยังไงให้ถูกต้อง ลองก่อนสัก 5 รอบ หรือ เอาจนขาวดี ?

การพันเทปพันเกลียวท่อประปา ที่ถูกต้อง  เนื่องจากเทปพันเกลียวบางยี่ห้อไม่มีคุณภาพ แม้จะระบุความหนาของเนื้อเทป 0.1 เหมือนๆ กัน แต่เมื่อลองจับเนื้อเทปกลับรู้สึกได้ถึงความหนาหรือบางที่แตกต่าง ทำให้ช่างมือใหม่ปวดหัวไม่น้อย โดยปกติที่ใช้กันในตลาดส่วนใหญ่เป็นแบบแถบ 12 มิลลิเมตร  และเกลียวแบบแถบเทปกว้างๆ ก็มีขายเมื่อเทปพันเกลียวมีหลายตัวเลือก คุณภาพหลากหลาย หนาบ้าง บางบ้าง จึงไม่สามารถบอกเป็นจำนวนรอบที่แน่นอนได้ เทปแบบบาง เมื่อพันหลายรอบจนดูหนามาก ถ้าเทปมันพองฟู มีอากาศแทรกอยู่ระหว่างชั้น พอขันเกลียวเข้าไป จะรู้สึกว่าหลวม ในขณะที่เทปหนาหน่อย พันจำนวนรอบน้อย ดูไม่หนา แต่เทปไม่ฟู พอขันเกลียวเข้าไป กลับรู้สึกถึงความตึงมือ จนกลัวว่าท่อจะแตก และถ้าเป็นเทปแถบกว้าง จำนวนรอบก็จะน้อยลงเล็กน้อย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความหนาของเทปอยู่ดี                                             

              จำนวนรอบการพันเทปที่เหมาะสมคือ ต้องลองดู จึงไม่ผิดแต่อย่างใด วิธีนี้ใช้ได้กับเกลียวของก๊อกหรือท่อยี่ห้อต่างๆ ที่มีขนาดต่างๆกัน หากทดลองขันเกลียวก่อนพันด้วยเทปพันท่อ จะรู้สึกว่าแต่ละยี่ห้อหลวมไม่เท่ากัน หรือแม้กระทั่งต่างรุ่นกันก็หลวมไม่เท่ากัน จึงเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่ควรจะทำ คือ ขันก๊อกน้ำ เข้าไปในเกลียวท่อก่อน โดยไม่พันเทป เพื่อทดสอบความหลวม ถ้ารู้สึกว่าหลวมมาก ก็พันเทปมากหน่อย ถ้าหลวมน้อย ก็พันเทปน้อยหน่อย จากนั้นลองขันเกลียวดูอีกครั้ง ถ้ารู้สึกว่าน้อยไป ก็พันเทปเพิ่มได้ ถ้ามากไป ก็ดึงเทปทิ้งไปหน่อยได้เช่นกัน สิ่งสำคัญคือ หลังจากพันเทปพันเกลียวท่อน้ำแล้ว ไม่ควรใช้เครื่องมือช่วยขันก๊อกน้ำหรือก๊อกฝักบัว ใช้เพียงมือหมุนก็พอ เพราะการใช้เครื่องมือช่วยจะเบาแรงเรามากจนไม่รู้สึกถึงความตึงมือ ขันยังไงก็เข้า ในที่สุดก็อาจพบปัญหาเรื่องท่อแตกได้ ควรใช้เพียงมือเปล่าหมุนให้รู้สึกตึงมือก็พอ เมื่อติดตั้งเสร็จและทดลองระบบน้ำแล้ว หากยังมีน้ำซึมก็ถอดออกมาพันเกลียวเพิ่มอีกนิดก็ยังได้ ค่อยๆทำแบบนี้จะไม่พลาดจนท่อแตกแน่นอน เพราะบางทีพันแน่นเกินไป อีกไม่นานก็จะมีน้ำรั่ว หรือ แตกอยู่ดี สาเหตุมาจากการพันแน่นเกินไป